9. เอ้กอี๊เอ้กเอ๊ก コケコッコー Cock-a-doodle-doo ทำไมไก่ถึงร้องไม่เหมือนกันนะ หูเราหรือหูเค้ากันแน่ที่เพี้ยน




สวัสดีทุกคน วันนี้ก็มาพบกับเราอีกเช่นเคย ใกล้ถึงเดดไลน์บล็อคแล้ว แต่ไม่ว่ายังไงก็อยากเขียนเรื่องนี้

วันนี้ฤกษ์งามยากดีใกล้เดดไลน์แล้ว เลยขอสักหน่อยละกัน

หัวข้อวันนี้ก็ตามชื่อบล็อคเลย ทุกคนเคยสงสัยเหมือนกันไหมว่า ทำไมสัตว์แต่ละประเทศจึงร้องไม่เหมือนกัน

เช่น ไก่ ในภาษาไทยร้องว่า เอ้กอี๊เอ้กเอ๊ก ภาษาอังกฤษ Cock-a-doodle-doo ภาษาญี่ปุ่น コケコッコー
ภาษาสเปน Kikiriki

 (Credit: https://www.boredpanda.com/animal-sounds-different-languages-james-chapman/?utm_source=google&utm_medium=organic&utm_campaign=organic)


แล้วสรุปว่า ไก่ร้องว่าอะไรกันแน่ ถ้าเราเลียนเสียงสัตว์จริง มันก็ควรจะเหมือนกันทั้งโลกสิ

คำตอบก็คือ ทั้งใช่และไม่ใช่ คือ มนุษย์เราเลียนเสียงสัตว์จริง แต่!!! การเลียงเสียงสัตว์คือ オノマトペ

ก็คือ เป็นการเลียนเสียงจริงแต่เสียงนั้นต้องเกิดจากเสียงที่มีอยู่จริงในภาษานั้น ๆ เท่านั้น

ลองดูตาราง IPA ประกอบนะ


ต่อมาลองมาดูของภาษาญี่ปุ่นกัน


จากตารางก็จะเห็นว่า มันมีเสียงที่ภาษาญี่ปุ่นออกไม่ได้อยู่พอสมควรเลย เพราะฉะนั้นแล้ว

การเลียนเสียงสัตว์ที่เป็น オノマトペ ก็อาจกล่าวได้ว่าไม่สมจริงมากนัก เนื่องจากไม่มีเสียงนั้นใน

ภาษาญี่ปุ่น และก็เป็นสาเหตุให้ทำไมเสียงร้องของสัตว์ในแต่ละประเทศจึงออกมาไม่เหมือนกันอีกด้วย

เสียงพวกนี้เนี่ย มนุษย์เราเรียนรู้มาตั้งแต่ตอนเป็นทารกแล้ว เรียนรู้ก่อนที่จะพูดคำแรกได้อีก

เพราะงั้นแล้วผู้เรียนภาษาที่ 2 เป็นต้นไปเนี่ยก็มักจะเกิดปัญหาในการออกเสียงที่ไม่มีในภาษาแม่

รวมถึงปัญหาในการแยกเสียงด้วยนะ ทำให้ยากมากที่ผู้เรียนจะสามารถพูดออกมาโดยไม่ติดสำเนียงได้

มาดูตัวอย่างกันดีกว่า


จากคลิปนี้ก็มีการพูดถึงเสียงร้องของเป็ดและไก่ในภาษาญี่ปุ่นที่น่าสนใจว่า

คำในภาษาญี่ปุ่นจะไม่สามารถขึ้นต้นด้วยเสียง Qu- ทำให้เป็ดร้อง Quack-quack ไม่ได้

จึงออกเสียงเป็น Ga-Ga

หรืออีกตัวอย่าง คือ ในภาษาญี่ปุ่นจะไม่มีการรวมเสียงตัว D และ L ทำให้เสียงไก่จะร้องว่า

Cock-a-doodle-doo แบบในภาษาอังกฤษไม่ได้

นอกจากนี้ เสียงร้องของสัตว์ยังสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของสัตว์ตัวนั้น และยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับ

วัฒนธรรมของประเทศนั้น ๆ อีกด้วย เช่น เสียงร้องของกวางมูสที่มีปรากฏอยู่แค่ในภาษาสวีดิช

เนื่องจากเป็นประเทศที่มีสัดส่วนกวางมูสต่อพื้นที่มากที่สุดในโลก

สรุปก็คือ เสียงร้องสัตว์นั้น เป็นオノマトペ  เพราะฉะนั้นเสียงที่ออกมาจึงแตกต่างกันไปโดยอิงตาม

เสียงที่มีอยู่จริงในภาษานั้น ๆ และเนื่องจากแต่ละภาษามีรูปแบบการออกเสียงที่ต่างกันนั้นยังส่งผลต่อ

การได้ยินเสียงอีกด้วย คือ หากไม่มีเสียงนั้นในภาษาแม่ของเรา ก็จะเป็นเรื่องยากในการฟังหรือออกเสียง

นอกจากนี้ เสียงร้องสัตว์ยังมีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของประเทศนั้น ๆ อีกด้วย ทำให้บางประเทศ

อาจมีเสียงร้องสัตว์ที่ประเทศอื่นไม่มี หรือ บางประเทศก็อาจมีเสียงร้องของสัตว์ชนิดเดียวกันที่เยอะกว่า

ละเอียดกว่า และซับซ้อนกว่าของประเทศอื่น เป็นต้น

สำหรับใครที่สนใจอยากเห็นเสียงของสัตว์ตัวอื่นว่าเป็นยังไง ลองดูเพิ่มเติมได้ที่

http://www.eleceng.adelaide.edu.au/Personal/dabbott/animal.html

และก่อนจะจากกันไปวันนี้ เราอยากบอกว่า หลังเขียนเรื่องนี้แล้ว ทำให้นึกถึงเพลงนี้ขึ้นมาเลย55555555



เพลงเก่ามาก แต่ติดหูเฉย งอง ฟังแล้วทุกคนคิดว่าสุนัขจิ้งจอกร้องแบบไหนกัน???

เฉลยว่า สุนัขจิ้งจอกในภาษาอังกฤษมีเสียงแบบนี้ YAAGGAGHHGHHHHHHAHHHH!!!!!



ความคิดเห็น

  1. เอา IPA มาเทียบเลยหรือคะ ว้าว เรื่องเสียงร้องของสัตว์ที่ฟังต่างนี่ มีคนพยายามจะอธิบายทั้งในแง่ของเสียง (แบบใน blog นี้) หรือในแง่ของวัฒนธรรม ความเชื่อ ประวัติศาสตร์ ด้วยนะคะ เพิ่งสังเกตเสียงร้องของสุนัขจิ้งจอกเป็นครั้งแรก

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม