5.ใครๆก็พูดอย่างชาญฉลาดได้ ถ้ารู้จัก”曖昧”

สวัสดีครับ หลังจากคลาสสัปดาห์นี้เรียนเรื่อง วิธีพูดอย่างชาญฉลาดเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว 

 อาจารย์ก็ได้มอบหมายงานให้มาสรุปเนื้อหา และดูว่าเราได้เรียนรู้อะไรจากมันไปบ้างสิ่งที่เรา

บอกตรง ๆ ก็คือ ตกใจมาก อาจเพราะใจหายที่จะไม่ได้เรียนเรื่องนี้แล้ว หรืออาจเพราะ

ไม่เข้าใจว่าเรียนอะไรไปแล้วบ้างก็ได้ แหะๆ


แต่สิ่งที่เราสนใจมากที่สุดของเรื่องนี้ คือ 曖昧に หรือพูดแบบกำกวม

ส่วนตัวแล้วรู้สึกว่า ตัวเราเองมักติดการพูดแบบตรงไปตรงมา ไม่ค่อย曖昧

ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่อาจารย์ยกขึ้นมาในคลาส คือ เวลาเขียนใบลาออกจากงาน 

คนญี่ปุ่นมักใช้เหตุผลใดมากที่สุด ในตอนนั้นสิ่งที่เราคิดคือ คนญี่ปุ่นก็คงไม่พูดเหตุผลที่

คิดออกมาตรง ๆ เช่น เงินเดือนน้อย ไม่เห็นโอกาสในการเติบโต หรือ งานหนักเกินไป เป็นต้น 

แต่คงเลือกที่จะตอบเลี่ยง ๆ แต่ด้วยนิสัยของเราที่ไม่ชอบความ曖昧แล้ว เพราะมันค่อนข้าง

เสียเวลา และไม่ได้ช่วยให้งานดำเนินไปข้างหน้าเร็วขึ้นเลย ทำให้เราไม่เห็นความสำคัญของมัน

เท่าไหร่ ถ้ามีอะไรการพูดตรง ๆ น่าจะแก้ปัญหาได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพกว่า 

นี่คือสิ่งที่เราคิด คือเรามองที่เวลาและประสิทธิภาพเป็นหลัก 

โดยไม่ได้คำนึงถึงผู้ฟัง ก็เลยทำให้นึกไม่ออกว่า ควรจะใช้คำไหน และ曖昧มันทำให้ดู

ชาญฉลาดได้อย่างไร พออาจารย์เฉลยว่า คนญี่ปุ่นมักให้เหตุผลที่ลาออกว่า  

一身上の都合で~  เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวของตนแล้ว ก็ร้อง อ๋อออออออ ขึ้นมาในใจ 
ตัวอย่างใบสมัครงานของชาวญี่ปุ่น สังเกตว่าตอนลาออกจากบริษัทแรก 
คนญี่ปุ่นคนนี้ได้เขียนสาเหตุไว้ว่า 一身上の都合により退職 

 วิธีพูดแบบ 曖昧 ไม่ใช่เพียงแค่ต้องการรักษาความเป็นส่วนตัว(プライバシーを守る)

   แต่ยังเป็นการทำให้บทสนทนาดูเบาลงเหมาะสมกับสถานการณ์มากขึ้น(生々しさを避ける) 
 
 เช่น หากอาหารเป็นพิษ แทนที่จะพูดว่า  下痢 ก็อาจเปลี่ยนไปใช้เป็น 体調不良 แทน  
 
 หรือ 人身事故 แทน การฆ่าตัวตายบนรางบนไฟ

 แม้แต่คำที่เราคิดว่าน่าจะใช้ได้ทั่วไป อย่าง トイレ ก็ยังพบกรณีที่เลี่ยงไปใช้คำว่า  
 
 洗面所 หรือ 化粧室 (สำหรับผู้หญิง)แทน สำหรับเราแล้ว เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ๆ

 เพราะทำให้ได้ศึกษาเรื่องการเลือกใช้คำของคนญี่ปุ่น 

 แต่ปัญหาของเรื่องนี้สำหรับผู้เรียนชาวต่างชาติ คือ หากมีคลังศัพท์ไม่มากพอ  

 ถึงแม้จะรู้ว่าควรจะเลี่ยงการใช้คำนี้ แต่ก็ไม่สามารถหาคำมาแทนได้ และ

 อีกปัญหาหนึ่งสำหรับผู้เรียนชาวต่างชาติ คือ ความต่างทางวัฒนธรรมที่อาจส่งผลต่อการรับสาร 

ดังตารางต่อไปนี้  
 จากตารางดังกล่าวกำหนดให้ 

     ช่องซ้าย คือ ชาวญี่ปุ่น
   
     ช่องตรงกลาง คือ ความหมายที่ชาวญี่ปุ่นต้องการจะสื่อ 

     ช่องขวา คือ สิ่งที่คนต่างชาติเข้าใจ 

 อย่างที่ทุกคนรู้กันว่า คนญี่ปุ่นชอบพูดแบบอ้อมโลกกกกกกกก แบบอ้อมไป อ้อมเกิน อ้อมจนงง

 ก็คือ เวลาพูดกับคนญี่ปุ่นให้เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่งได้เลย ฝั่งนู้นเสมออะไรมาก็คือ ไม่ใช่เป็นคำแนะนำ

 แต่คือให้ทำตามนี้น้าาาาา จากประสบการณ์ส่วนตัวเลยก็คือ ด้วยความเป็นคนไม่ชอบความกำกวม

 ก็เลยจะไม่ทำอะไรที่เค้าไม่ใช้รูปใช้て下さい・しなさい หรืออะไรทำนองนี้

 ตอนทำพาร์ทไทม์ที่นู้น หัวหน้าก็บอกให้ไปทำโปสเตอร์ติดหน้าร้านให้หน่อย 

 พอทำเสร็จออกมา เค้าก็บอกประมาณว่า 「いい感じですね!ただこの部分をもっと

 明るくにしたらどうかな」เราก็คือ ฟังแต่ประโยคแรกที่เป็นคำชม ประโยคหลังเราก็ตอบรับไป

 ว่า "ผมว่าแบบนี้มันก็ดีแล้วนะ ถ้าใส่สีมากไปกว่านี้มันจะดูเลอะไปนะครับ" 

 เราก็นึกว่าพูดไปแค่นี้จะจบเรื่อง สรุปคือ . . . 

 หัวหน้าบอกว่า 「やっぱり、明るくにしてくれ」ตอนนั้นก็คิดว่า อ่อ สงสัยที่เราเสนอไป

 หัวหน้าคิดว่าไม่ใช่ คือ เราสองฝ่ายแลกเปลี่ยนความเห็นกันแล้ว 

 แต่แค่หัวหน้าคิดว่าสิ่งที่เค้าคิดน่าจะดีกว่า ก็เข้าใจแบบนั้นมาตลอดจนมาถึงคาบนี้

 ว่า อ๋ออออออ หัวหน้าไม่ได้เสนอ เค้าสั่งให้ทำตามนั้น แหะๆ เค้าแค่พยายามไม่พูดตรง ๆ 

 พอคิดแบบนั้นก็รู้สึกนะว่า จริง ๆ พูดแบบนี้ก็ดีนะ แบบเราก็ไม่เสียความรู้สึกเท่าไหร่

 เทียบกับถ้าบอกตรง ๆ ว่าให้ไปทำแบบนี้มานะ เราก็อาจไม่ชอบ เพราะมันดูเป็นการบังคับ

 แต่ปัญหาที่ตามมา คือ ในกรณีเราสุดท้ายมันสื่อสารกันรู้เรื่อง แต่อาจมีบางกรณีที่ไม่เข้าใจ 

 และสื่อสารไม่ตรงกัน โดยเฉพาะหากผู้ฟังเป็นผู้เรียนชาวต่างประชาติ เนื่องจากความต่างทาง

 วัฒนธรรม จึงทำให้ต้องระวังให้ดีในเรื่องนี้


 อันนี้คือเราเอง หลังจากเรียนเรื่องนี้ไป

ขอบคุณรูปจาก https://kanoko-online.com/2245/

 ก็คือ เกร็งไปเลย ทำตัวไม่ถูกเลย ได้ยินอะไรมา หารสองไว้ก่อนเลย ชมมาก็คิดไว้ก่อนว่าไม่ใช่

 อีกเรื่องหนึ่งที่เรารู้สึกว่า หากเป็นผู้เรียนชาวต่างชาติและใช้การพูด曖昧ได้เนี่ย ต้องเก่งภาษาใน

 ระดับนึงเลย เพราะเราต้องมีคลังศัพท์ที่เยอะมากกกกกกกกกก ก็คือเบ่งได้เลยน้าาาา


 
 ถ้าอย่างนั้นแล้ว ถ้าเราอยากพูดแบบนี้จะฝึกได้ที่ไหนบ้าง เราก็อยากส่งต่อสิ่งดี ๆ ให้ทุกคน

จะได้เป็นเนทีฟไปเลย
  ล้อเล่น ๆ ก็คือ https://thesaurus.weblio.jp/content/%E6%AD%BB%E3%81%AC เป็นเว็บไซต์

 ประมาณพจนานุกรมแหละ แต่มันจะบอกคำที่ความหมายใกล้เคียงกันมาด้วย ก็ถือว่าดีนะ 

 สำหรับคนที่ยังมีคลังศัพท์น้อย แต่ก็ต้องระวังเพราะบางคำ มันให้ความหมายเหมือนกัน 
 
 แต่ニュアンス  ต่างกันก็มีนะ อย่างคำว่า ตาย หรือ死ぬ ทั่วไป เราก็คงนึกถึงคำว่า 

 死亡・死去ใช่ไหม เราคงไม่ใช้昇天หรอกเนอะ เพราะถึงมันจะหมายถึงตายเหมือนกัน

 แต่มันให้ความรู้สึกเชิงศาสนาคริสต์อะ แบบขึ้นสวรรค์ไปอยู่กับพระเจ้า 
 

 คำกำกวมทั่วไปแล้วเนี่ยไม่จำเป็นต้องต่อชาวต่างชาติ แค่คนในชาติเดียวกันบางทีมันก็ทำให้

 สับสนได้นะ ตอนเราลองค้นเรื่องนี้ก็พบหลายเว็บอยู่เหมือนกันนะ ที่เค้าพยายามจะให้ลดการพูด

 แบบนี้ลง เพราะมันทำให้สับสนได้ง่าย เช่น คำว่า 「多めに」เอ๊ะ มันต้องเยอะแค่ไหน?
 
 「早めに」 เร็วแค่ไหน? หากบอกเป็นตัวเลขก็จะเข้าใจได้ชัดเจนกว่า

 เช่น เร็วขึ้น 10 นาที หรือเยอะขึ้น 10 ชิ้น เป็นต้น

 นอกจากเรื่องนี้แล้ว ความสัมพันธ์ของเรากับผู้ฟังก็ถือเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน

 คือ เราคงไม่มานั่งพูดให้มันกำกวมเพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวกับเพื่อนสนิทของเรา

 แต่เราจะพูดแบบนี้ก็ต่อเมื่อเราไม่รู้จักผู้ฟังดีพอ หรือมีสถานะสูงกว่าเรา

 
 ส่วนตัวเราเอง จากการเรียนเรื่องนี้แล้ว เราตัดสินใจว่าเวลาจะพูดอะไรกับคนที่มีสถานะสูงกว่า 

 หรือไม่สนิทกันมากพอ ก็คงจะใช้วิธีพูดแบบนี้แหละ เพราะนอกจากจะทำให้เราดูเป็นคน

 มีมารยาทแล้วเนี่ย ยังทำให้บรรยากาศในการสนทนาดีขึ้นด้วย แต่อย่างไรก็ตามหาก

 จำเป็นที่จะต้องพูดตรงไปตรงมาเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมแล้ว เราก็จะไม่ลังเลที่จะพูดออกไป

 โดยคำนึงถึงความรู้สึกของผู้ฟังควบคู่ไปด้วย
 
 ส่วนในกรณีที่อยู่กับเพื่อน เราก็คงเป็นแบบเดิมต่อไป เพราะถ้าให้มาพูดกำกวมกับเพื่อนตลอด 

 มันก็อาจทำให้เพื่อนรู้สึกอึดอัดในการพูดกับเรา

 การเรียนเรื่องนี้สอนเรื่องมารยาทการพูดในสังคมให้แก่เราเป็นอย่างมาก ทำให้เรารู้จักเคารพและ

 ให้ความสำคัญกับความเห็นของผู้อื่นมากขึ้น แทนที่จะมองที่ผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นหลัก

 เราจึงอยากแบ่งปันเรื่องนี้แก่ทุกคน เพื่อจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย ขอบคุณครับ
 
 สรุป

 การพูดแบบนี้จะใช้ก็ต่อเมื่อเกิดกรณีแบบนี้

 - ต้องการรักษาความเป็นส่วนตัว(プライバシーを守る)

 - ต้องการสร้างบรรยากาศที่ดีในการสนทนา(生々しさを避ける)

 ข้อควรระวัง คือ อาจทำให้เกิดการเข้าใจผิดได้ง่าย จึงควรคิดให้ดีก่อนที่จะใช้ 

 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดและผู้ฟังก็เป็นอีกข้อที่ควรระวัง หากใช้กับคนสนิท ก็อาจทำให้เกิดความ

 รู้สึกห่างเหินและอึดอัดขึ้นมาได้


 เสริม

 การพูดอย่างชาญฉลาด ทักษะที่จำเป็นนอกเหนือจากวาจาแล้ว สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียงที่ใช้

 ก็มีผลเช่นกัน หากเราแสดงสีหน้า ท่าทาง และใช้น้ำเสียงที่บ่งบอกถึงความมั่นใจ 

 ก็สามารถส่งผลให้ผู้ฟังเคลิ้มตาม และรู้สึกว่าเราชาญฉลาดและเชื่อในคำพูดของเราได้



 อ้างอิง

 https://next.rikunabi.com/journal/20160222_1/

 https://toyody.net/how-to-realize-he-is-smart#i-3
 
 https://life-and-mind.com/way-of-talking-13063#i-3
 
 

 


ความคิดเห็น

  1. สรุปได้ละเอียดดีค่ะ ที่น่าสนใจคือตารางสามช่องที่คนญี่ปุ่นพูด ความหมาย และที่คนต่างชาติเข้าใจ เอามาจากที่ใดเอ่ย คนช่างสรุปดีจัง

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณครับ เป็นบล็อคของชาวจีนที่เรียนญี่ปุ่นท่านหนึ่งนะครับ เหมือนว่าชาวจีนท่านนั้นก็นำมาจากที่อื่นอีกต่อเหมือนกันครับ ลองหาต้นทางแล้วแต่หาไม่ได้เลยครับ

      ลบ

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม